ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
💤💤💤ภาวะที่พี่โดมเป็นเรียกว่า...
"ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น" ครับ
หรือทางการแพทย์เรียกว่า
OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA (OSA)
เป็นภาวะที่เกิดในช่วงที่ร่างกายอยู่ในภาวะหลับ
😄ในคนปกติ ขณะที่เราหลับ กล้ามเนื้อรอบคอหอยและโคนลิ้นจะหย่อนตัวลงและปิดทางเดินหายใจได้เล็กน้อย การหายใจในช่วงนอนหลับจะยังคงเป็นปกติ อาจมีการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว ได้เฉลี่ย "ไม่เกิน5ครั้งต่อชม."
😓แต่บางคนที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจทำให้เกิดการตีบแคบเกิดขึ้น เช่น อายุมากขึ้น มีเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่หย่อนยาน มีน้ำหนักตัวหรือไขมันในร่างกายมาก หรือมีคางเล็กคางสั้น ทำให้ลิ้นตกขณะนอนหลับมากขึ้น --> ทำให้ทางเดินหายใจบริเวณคอหอย เกิดการตีบแคบง่ายขึ้นขณะหลับ เกิดการหยุดหายใจ หรือหายใจแผ่วเป็นช่วงๆได้ ซึ่งเป็นผลเสียต่อร่างกายในระยะสั้นและระยะยาว
หรือทางการแพทย์เรียกว่า
OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA (OSA)
เป็นภาวะที่เกิดในช่วงที่ร่างกายอยู่ในภาวะหลับ
😄ในคนปกติ ขณะที่เราหลับ กล้ามเนื้อรอบคอหอยและโคนลิ้นจะหย่อนตัวลงและปิดทางเดินหายใจได้เล็กน้อย การหายใจในช่วงนอนหลับจะยังคงเป็นปกติ อาจมีการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว ได้เฉลี่ย "ไม่เกิน5ครั้งต่อชม."
😓แต่บางคนที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจทำให้เกิดการตีบแคบเกิดขึ้น เช่น อายุมากขึ้น มีเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่หย่อนยาน มีน้ำหนักตัวหรือไขมันในร่างกายมาก หรือมีคางเล็กคางสั้น ทำให้ลิ้นตกขณะนอนหลับมากขึ้น --> ทำให้ทางเดินหายใจบริเวณคอหอย เกิดการตีบแคบง่ายขึ้นขณะหลับ เกิดการหยุดหายใจ หรือหายใจแผ่วเป็นช่วงๆได้ ซึ่งเป็นผลเสียต่อร่างกายในระยะสั้นและระยะยาว
😱ผลเสียต่อร่างกายหากไม่รักษา
ระยะสั้น : การหยุดหายใจเป็นช่วงๆขณะนอนหลับ ทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวเรื่อยๆขณะนอนหลับ ทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ เกิดความง่วง😴😫 ถึงแม้นอนในชม.ที่เพียงพอแล้ว ความจำไม่ดี สมองไม่ปลอดโปร่ง หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ปวดหัวช่วงเช้า
ระยะสั้น : การหยุดหายใจเป็นช่วงๆขณะนอนหลับ ทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวเรื่อยๆขณะนอนหลับ ทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ เกิดความง่วง😴😫 ถึงแม้นอนในชม.ที่เพียงพอแล้ว ความจำไม่ดี สมองไม่ปลอดโปร่ง หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ปวดหัวช่วงเช้า
ระยะยาว : เมื่อมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ จะทำให้หัวใจและปอดทำงานหนักขึ้น มีภาวะความดันเลือดสูงได้ในอนาคต ในผู้ที่เป็นแล้ว จะคุมความดันได้ยากขึ้น เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองง่ายมากขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอื่นๆ ฯลฯ
อย่างไรถึงสงสัยโรคนี้
เรามักสงสัยภาวะนี้ในคนที่ปัจจัยได้แก่
💤💤กรนดัง💤💤 ร่วมกับ...
ข้อใดก็ตามดังต่อไปนี้ (ไม่ต้องครบทุกข้อ)
❤มีคนเห็นว่ามีหยุดหายใจขณะหลับ
❤มีความง่วง อ่อนเพลียเยอะ ถึงแม้ชม.การนอนเพียงพอ 7-8ชม.
❤มีภาวะความดันโลหิตสูง
❤มีภาวะอ้วน
❤เพศชาย หรือหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว
❤อาการอื่นๆระหว่างการนอนหลับ เช่น นอนกัดฟัน กระตุกขา
❤อายุมากกว่า50
เหล่านี้-->แสดงถึงมีความเสี่ยงต่อการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เรามักสงสัยภาวะนี้ในคนที่ปัจจัยได้แก่
💤💤กรนดัง💤💤 ร่วมกับ...
ข้อใดก็ตามดังต่อไปนี้ (ไม่ต้องครบทุกข้อ)
❤มีคนเห็นว่ามีหยุดหายใจขณะหลับ
❤มีความง่วง อ่อนเพลียเยอะ ถึงแม้ชม.การนอนเพียงพอ 7-8ชม.
❤มีภาวะความดันโลหิตสูง
❤มีภาวะอ้วน
❤เพศชาย หรือหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว
❤อาการอื่นๆระหว่างการนอนหลับ เช่น นอนกัดฟัน กระตุกขา
❤อายุมากกว่า50
เหล่านี้-->แสดงถึงมีความเสี่ยงต่อการมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
😁การวินิจฉัยโรค😁
ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ คือ
❤"การตรวจการนอนหลับ"❤
(Sleep test หรือ Polysomnogram)
คือการตรวจการนอน1คืน ที่รพ. หรือการตรวจการตรวจการนอน โดยมีอุปกรณ์ไปติดที่บ้าน (Home sleep apnea test)
❤โดยจะเป็นการตรวจทางละเอียด เพื่อดูว่ามีการหายใจที่ผิดปกติขณะนอนหลับหรือไม่ และทราบเป็นค่า "การหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว เฉลี่ยเป็นจำนวนครั้งต่อชม" (Apnea-hypopnea index) (ซึ่ง ของพี่โดมน่าจะประมาณมากกว่า30ครั้งต่อชม.ครับ ไม่ใช่ต่อคืน)
♠️ซึ่งคนปกติ จะไม่เกิน5ครั้งต่อชม. ครับ♠️
ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ คือ
❤"การตรวจการนอนหลับ"❤
(Sleep test หรือ Polysomnogram)
คือการตรวจการนอน1คืน ที่รพ. หรือการตรวจการตรวจการนอน โดยมีอุปกรณ์ไปติดที่บ้าน (Home sleep apnea test)
❤โดยจะเป็นการตรวจทางละเอียด เพื่อดูว่ามีการหายใจที่ผิดปกติขณะนอนหลับหรือไม่ และทราบเป็นค่า "การหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว เฉลี่ยเป็นจำนวนครั้งต่อชม" (Apnea-hypopnea index) (ซึ่ง ของพี่โดมน่าจะประมาณมากกว่า30ครั้งต่อชม.ครับ ไม่ใช่ต่อคืน)
♠️ซึ่งคนปกติ จะไม่เกิน5ครั้งต่อชม. ครับ♠️
🤔คำถาม : นาฬิการุ่นใหม่ๆ smart watch หรือแอพพลิเคชั่น ที่วางไว้ขณะหลับเพื่อฟังเสียงกรน สามารถวินิจฉัยได้หรือไม่?
😓 ไม่สามารถ เชื่อถือได้ครับ และไม่สามารถนำมาวินิจฉัยถึงภาวะหยุดหายใจ หรือประเมินคุณภาพการนอนหลับได้ ไม่สามารถรู้การหลับตื้น-ลึกได้จริง
❤ เนื่องจากการหลับตื้น-ลึก ต้องวินิจฉัยจากคลื่นสมองครับ และจากการศึกษาพบว่า นาฬิกาเหล่านี้ อธิบายการหลับลึก-ตื้น ไม่ตรงตามความเป็นจริงของสมอง
❤ ไม่สามารถตรวจดูความผิดปกติทางการหายใจได้ อาจมีประโยชน์ในแง่การบันทึกเสียงกรน
❤ เนื่องจากการหลับตื้น-ลึก ต้องวินิจฉัยจากคลื่นสมองครับ และจากการศึกษาพบว่า นาฬิกาเหล่านี้ อธิบายการหลับลึก-ตื้น ไม่ตรงตามความเป็นจริงของสมอง
❤ ไม่สามารถตรวจดูความผิดปกติทางการหายใจได้ อาจมีประโยชน์ในแง่การบันทึกเสียงกรน
การรักษา
🐨เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (Positive airway pressure) หรือเครื่องที่พี่โดมใส่
จะเป็นเครื่องที่สวมเป็นหน้ากากใส่ขณะนอนหลับ เครื่องนี้จะช่วยสร้างแรงดัน เข้าไปถ่ายขยายจุดที่มีการตีบแคบบริเวณคอหอยให้กว้างขึ้น ทำให้เราหายใจไม่มีการติดขัดขณะหลับ (กลไกของเครื่องไม่ได้ช่วยหายใจนะครับ แค่ถ่างขยายจุดตีบแคบ)
🐨เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (Positive airway pressure) หรือเครื่องที่พี่โดมใส่
จะเป็นเครื่องที่สวมเป็นหน้ากากใส่ขณะนอนหลับ เครื่องนี้จะช่วยสร้างแรงดัน เข้าไปถ่ายขยายจุดที่มีการตีบแคบบริเวณคอหอยให้กว้างขึ้น ทำให้เราหายใจไม่มีการติดขัดขณะหลับ (กลไกของเครื่องไม่ได้ช่วยหายใจนะครับ แค่ถ่างขยายจุดตีบแคบ)
🐨การผ่าตัด ในกรณีที่เป็นไม่มีมาก หรือทนแรงดันจากการใช้เครื่องไม่ได้ ซึ่งการผ่าตัดจะต้องทำไปตามตำแหน่งที่สงสัยว่าเกิดการตีบแคบขณะหลับ เช่น ผ่าตัดแก้ไขลิ้นไก่หรือเพดานอ่อนที่หย่อนยาน ผ่าตัดแก้ไขโคนลิ้นที่ตกขณะหลับ หรือผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นจมูกที่คดเอียง ฯลฯ
🐨อุปกรณ์ทันตกรรม (Oral appliance) ในกรณีที่เป็นไม่มาก หรือทนแรงดันเครื่องอัดอากาศไม่ได้
จะเป็นอุปกรณ์ที่ใส่ในช่องปากขณะนอนหลับ ซึ่งต้องปรึกษาทันตแพทย์ด้านการนอนหลับ จุดประสงค์เพื่อทำให้ลิ้นไม่ตกขณะหลับ และโครงสร้างคอหอยไม่ตีบแคบขณะหลับ
จะเป็นอุปกรณ์ที่ใส่ในช่องปากขณะนอนหลับ ซึ่งต้องปรึกษาทันตแพทย์ด้านการนอนหลับ จุดประสงค์เพื่อทำให้ลิ้นไม่ตกขณะหลับ และโครงสร้างคอหอยไม่ตีบแคบขณะหลับ
🐨การรักษาอื่นๆ
เช่น การนอนตะแคง--> ไม่ได้เกิดประโยชน์ในทุกคน อาจช่วยลดการหยุดหายใจได้ในคนบางกลุ่ม และในระยะยาว ยังไม่มีการศึกษาว่ามีเกิดประโยชน์ในการรักษาที่ชัดเจน
เช่น การนอนตะแคง--> ไม่ได้เกิดประโยชน์ในทุกคน อาจช่วยลดการหยุดหายใจได้ในคนบางกลุ่ม และในระยะยาว ยังไม่มีการศึกษาว่ามีเกิดประโยชน์ในการรักษาที่ชัดเจน
หมอไมท์ นพ.ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ
SLEEP OTOLARYNGOLOGY FELLOW
SLEEP OTOLARYNGOLOGY FELLOW
Comments
Post a Comment