เด็กนอนกรน ไม่ใช่เรื่องเล็ก?

👶เด็กนอนกรน ไม่ใช่เรื่องเล็ก?!!



จากที่หมอเคยสรุปเรื่อง ภาวะหยุดหายใจจากการอุดกั้นในผู้ใหญ่ไปแล้ว (ในโพสก่อนๆ) มีลูกเพจบางท่านถามถึง 💤'การกรนในเด็ก'💤ว่ามีอันตรายหรือไม่ และรักษาอย่างไร วันนี้มีคำตอบครับ
เด็กนอนกรนเกิดจากอะไร?
การกรน (snoring) คือ เสียง ที่เกิดจากกระแสลมที่ผ่านทางเดินหายใจที่ตีบแคบขณะหลับ มักเป็นจากตำแหน่งในจมูก หรือคอหอย เมื่อลมผ่านที่แคบ👉ทำให้เกิดการสั่นของเนื้อเยื่อรอบๆ เกิดเป็นเสียงขึ้น
เด็กก็สามารถเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea)😱
😄ในคนปกติ ขณะที่นอนหลับ ลมหายใจจะผ่านจากรูจมูก👉เข้าสู่ช่องหลังโพรงจมูก👉ลงในคอหอย👉และลงในปอด
😫ส่วนขณะหลับ กล้ามเนื้อคอหอยจะหย่อนตัวลง และมีโคนลิ้นตก ช่องในคอหอยแคบลง แต่กลไกธรรมชาติจะยังมีการตึงตัวของกล้ามเนื้อบางส่วน ทำให้ทางเดินหายใจขณะหลับไม่ติดขัดขณะหลับ
🎈แต่ในเด็กบางคน...อาจมีปัญหาบางอย่างที่ทำให้มีการตีบแคบเกิดขึ้นขณะหลับ ซึ่งมักเกิดจากสาเหตุ ได้แก่
1. #ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์มีขนาดใหญ่
👉เป็นสาเหตุ พบได้บ่อยในเด็ก2-8ขวบ
🌼ต่อมทอนซิล👉 เป็นต่อมที่อยู่ในคอหอยระดับช่องปาก👅 ถ้าอ้าปากก็สามารถเห็นได้ ต่อมนี้มีในคนทั่วไปทุกคน แต่ในเด็กหรือผู้ใหญ่บางคนมีขนาดใหญ่ ส่วนมากเกิดจาก มีคออักเสบหรือติดเชื้อบ่อยๆ, โรคภูมิแพ้ หรือ สาเหตุอื่นๆ
🌼ต่อมอะดีนอยด์👉 เป็นต่อมที่อยู่บริเวณหลังโพรงจมูก ไม่สามารถมองเห็นการการอ้าปากได้ ต่อมนี้เป็นต่อมที่โตเป็น'ปกติ'ในเด็กทั่วๆไป โดยจะมีขนาดใหญ่ในช่วง 2-8ขวบ และยุบลงและมักหายไปหลังอายุ10ขวบ
ต่อมทั้งสองต่อมนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเนื้อเยื่อน้ำเหลืองภายในช่องคอ (Waldeyer's ring) ทำหน้าที่ในการสร้างภูมิต้านทาน'บางส่วน' เมื่อมีการติดเชื้อบ่อยๆ ก็มีขนาดใหญ่ขึ้น..ใหญ่เกินไปก็เกิดปัญหา ซึ่งทำให้ขัดขวางทางเดินหายใจขณะหลับ



2. #ในเด็กที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์
👉มันเป็นสาเหตุในเด็กโต
ไขมันในร่างกายไม่ได้อยู่แค่ตามพุง แขน ขา เท่านั้น 👉แต่ยังไปแทรกตามกล้ามเนื้อรอบคอหอย และลิ้น ทำให้ทางเดินหายใจยิ่งปิดแคบขณะหลับ
3. #เด็กบางคนมีความผิดปกติในโครงใบหน้าแต่กำเนิด ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงขณะหลับได้
เช่น กลุ่มเด็กดาวน์ พิแอร์โรแบง แอเพิร์ต
ถ้าทิ้งไว้ ไม่รักษาจะเกิดอะไรขึ้น?
การกรน และภาวะหยุดหายใจในเด็กจะทำให้เด็กเกิดผลแทรกซ้อนในระยะสั้นและระยะยาว
♠️เมื่อการนอนของเด็กถูกขัดจังหวะด้วยการหยุดหายใจ 👉 #เด็กจะมีระยะการนอนที่ผิดปกติ ทำให้การหลับลึกและหลับฝันน้อยลง ซึ่งช่วงการนอนเหล่านี้เป็นช่วงที่มี #การพัฒนาสมองโดยเฉพาะสมองส่วนหน้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์ คุณธรรม สมาธิ สติปัญญา และ
#ฮอร์โมนการเติบโต (Growth hormone)
#การพัฒนาด้านความทรงจำ (Memory)
👉👉👉ทำให้เด็กในกลุ่มนี้ เกิดโรคสมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง มีปัญหาเรียนช้า การเรียนด้อยลง บางราย มีอาการปัสสาวะรดที่นอนบ่อย โตช้า (แตกต่างจากในผู้ใหญ่ ที่มักมีความง่วงเป็นอาการเด่น) แต่ในเด็กวันเรียนก็อาจพบอาการง่วงได้เช่นกัน
♠️ในระยะยาว
หากปล่อยทิ้งไว้ จากการศึกษาพบว่า
เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานได้
 #อย่างไรถึงสงสัย? เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ💤💤💤
เด็กที่มีปัญหานอนกรน ร่วมกับ...
🎈ขณะหลับ 👉พบว่ามีช่วงหยุดหายใจ หายติดเฮือก ใช้แรงในการหายใจมาก
🎈อาการอื่นๆ เช่น ปัญหาสมาธิสั้น ไฮเปอร์ มีปัญหาด้านพฤติกรรมหรืออารมณ์
การวินิจฉัย
จำเป็นต้องใช้ #การตรวจการนอนหลับ หรือ sleep test ในการวินิจฉัย (ขออนุญาตไม่ลงรายละเอียด)
การรักษา
🌼การผ่าตัดต่อมทอลซิลและต่อมอะดีนอยด์
เนื่องจาก2ต่อมนี้เป็นผู้ร้ายหลักของโรคนี้ในเด็ก จึงเป็น #การรักษาหลัก ในเด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น และแพทย์ตรวจพบว่ามีต่อม2ต่อมนี้โตด้วย
#ผ่าแล้วเสียงเปลี่ยนมั้ย -->ไม่เปลี่ยนครับ
ถ้าผ่าแล้ว #ภูมิคุ้มกันลดลงมั้ย#อ่อนแอลงมั้ย?
👉👉จากการศึกษาพบว่า ไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงไป เด็กแข็งแรงเป็นปกติ
👉👉ตรงกันข้าม การกรนและหยุดหายใจลดลง การนอนมีคุณภาพ และจากการศึกษาในเด็กกลุ่มนี้พบว่าหลังผ่าตัด มีการเติบโต น้ำหนัก ส่วนสูง ฮอร์โมนเติบโต ที่กลับมาสูงกว่าก่อนผ่าตัด (เท่าในเด็กปกติ)
🌼การรักษาอื่นๆ
🐨ยารับประทานและยาพ่นจมูกเสตียรอยด์ มีการศึกษาว่า สามารถลดขนาดของต่อมอะดีนอยด์ที่มีขนาดใหญ่ได้ แต่ผลการตอบสนองแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน ส่วนมากแพทย์มักจะสั่ง ก่อนพิจารณาผ่าตัด
🐨เครื่องอัดอากาศ ในกรณีที่มีปัญหายังมีการหยุดหายใจหลังผ่าตัดต่อมออกแล้ว หรือกลุ่มที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ มีโรคร่วมหลายอย่าง
🐨ทันตอุปกรณ์ : (ส่วนมากใช้ในผู้ใหญ่มากกว่า) จุดประสงค์คือเป็นอุปกรณ์ที่ใส่ในปากขณะหลับ เพื่อลดการตกลงของลิ้น ขยายขนาดภายในคอหอยขณะหลับ
หมอไมท์ นพ.ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ
โสต ศอ นาสิกแพทย์
Sleep otolaryngology fellow
#pediatricOSA #SBDinchild

เรื่องการกรนและหยุดหายใจขณะหลับในผู้ใหญ ไปตามอ่านได้ในlinkครับ👇🏻
https://www.facebook.com/Goodsleepgoodliving/posts/166842868062375?__tn__=K-R

Comments

Popular posts from this blog

นิ่วทอนซิล สาเหตุของกลิ่นปาก

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภัยร้ายที่มาพร้อมเสียงกรน