Posts

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภัยร้ายที่มาพร้อมเสียงกรน

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภัยร้ายที่มาพร้อมเสียงกรน นพ.ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ โสต ศอ นาสิกแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญอนุสาขาเวชศาสตร์การนอนหลับ รพ.สมิติเวช ธนบุรี อาการกรน เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติหรือน่าขัน แต่อาการกรนอาจมาพร้อมกับภัยร้าย นั่นคือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ " ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น" หรือทางการแพทย์เรียกว่า Obstructive Sleep Apnea (OSA) เป็นภาวะที่เกิดการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่วเป็นช่วงๆในขณะที่เราหลับ ü   ในคนปกติ ขณะหลับ กล้ามเนื้อรอบคอหอยและโคนลิ้นจะหย่อนตัวลงและปิดทางเดินหายใจได้เล็กน้อย การหายใจในช่วงนอนหลับจะยังคงเป็นปกติ อาจมีการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่วได้เฉลี่ย " ไม่เกิน 5 ครั้งต่อชม." ü   แต่บางคนที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจทำให้เกิดการตีบแคบเกิดขึ้น เช่น อายุมากขึ้น มีเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่หย่อนยาน ภาวะอ้วน หรือ โครงสร้างใบหน้าที่มีคางเล็กหรือคางสั้น ทำให้ลิ้นตกขณะนอนหลับมากขึ้น ทำให้ทางเดินหายใจบริเวณคอหอย เกิดการตีบแคบง่ายขึ้นขณะหลับ เกิดการหยุดหายใจ หรือหายใจแผ่วเป็นช่วงๆได้ ซึ่งเป็นผลเสีย...

ฟันผุไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ติดเชื้อลุกลามถึงแก่ชีวิต

Image
😰 😰 😰 ฟันผุไม่ใช่เรื่องเล่นๆนะครับ 😰 😰 😰 ฟันผุ ใครว่าไม่เป็นไร จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ลุกลามได้ และอันตรายถึงชีวิต ⛔️ ฟันผุ นำไปสู่การอักเสบติดเชื้อของ ‘รากฟัน’ และอาจเกิดเป็นหนองที่บริเวณรากฟันได้ ⛔️ รากฟันของคนเรานั้น โดยเฉพาะฟันกรามด้านล่างจะปักอยู่ในตำแหน่งที่เรียกว่า’ช่องเนื้อเยื้อชั้นลึก’ ปล. ภาษาทางการแพทย์เราเรียกว่า Deep neck space ที่สำคัญบริเวณใต้ฟันล่าง จะมี... ช่องเนื้อเยื่อใต้ลิ้น (Sublingual space) และช่องเนื้อเยื่อใต้กระดูกขากรรไกร (Submandibular space) จริงๆมีอีกมากมายหลายช่องเลยครับ การติดเชื้อของฟัน โดยเฉพาะในคนที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดี เช่น อายุมาก เป็นโรคเบาหวาน กินยากดภูมิคุ้มกัน หรือแม้กระทั่งในคนปกติอย่างเราๆก็ตาม จะทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามในช่องเนื้อเยื่อเหล่านี้ได้ครับ พวกนี้มันสามารถลุกลามไปถึงกันได้หมด ไม่ว่าจะข้างซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย ซึ่งการอักเสบอาจเป็นได้ทั้งเนื้อเยื่ออักเสบธรรมดา ที่ไม่มีหนอง หรือมีการก่อตัวเป็นหนองเลยก็ได้ 😵 ทำไมถึงอันตรายถึงชีวิตได้ 😵 ความน่ากลัวคือ 😡 # เบียดทางเดินหายใจถึงแก่ชีวิต ถ้ามีการอักเสบลุกลามบริเวณช่อง...

เสียงในหู (Tinnitus)

เกี่ยวกับภาวะเสียงในหู ภาวะเสียงในหูหรือหูอื้อ (Tinnitus) คืออาการที่หูคนเราได้ยินเสียง โดยไม่มีแหล่งกำเนิดเสียงจากภายนอก โดยเสียงที่ได้ยินมีอยู่หลายแบบ ได้แก่ เสียงหึ่ง เสียงฮัม เสียงสะท้อน เสียงก้องในหู เสียงดังคลิก เสียงหวีด เสียงคล้ายจิ้งหรีดร้อง เสียงลม เสียงตุ๊บๆ ตามจังหวะชีพจร ซึ่งเสียงดังในหูของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน ในแง่ของระดับเสียง มีตั้งแต่เสียงต่ำไปจนถึงเสียงสูง อาจเกิดขึ้นกับหูข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ และมักจะได้ยินชัดเจนขึ้นในสถานที่เงียบ ภาวะเสียงในหูมีความร้ายแรงหรือไม่ ? ภาวะเสียงดังในหูมักจะไม่ใช่สัญญาณของภาวะสุขภาพที่ร้ายแรง บางคนอาจมีอาการเป็นๆ หายๆ และสร้างความรำคาญเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาการนี้อาจเกิดขึ้นเรื้อรังจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยกรณีที่เป็นรุนแรงอาจส่งผลต่อระดับสมาธิและสร้างปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ภาวะนอนไม่หลับ ( insomnia ) และภาวะซึมเศร้า ( depression ) เป็นต้น ในบางกรณี อาการเสียงดังในหูอาจหายได้เอง แต่ก็ควรเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านหูคอจมูก เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการและทำการรักษาจะดีที่สุด ...

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น

Image
💤 💤 💤 ภาวะที่พี่โดมเป็นเรียกว่า... "ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น" ครับ หรือทางการแพทย์เรียกว่า OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA (OSA) เป็นภาวะที่เกิดในช่วงที่ร่างกายอยู่ในภาวะหลับ 😄 ในคนปกติ ขณะที่เราหลับ กล้ามเนื้อรอบคอหอยและโคนลิ้นจะหย่อนตัวลงและปิดทางเดินหายใจได้เล็กน้อย การหายใจในช่วงนอนหลับจะยังคงเป็นปกติ อาจมีการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว ได้เฉลี่ย "ไม่เกิน5ครั้งต่อชม." 😓 แต่บางคนที่มีโครงสร้างบางอย่าง อาจทำให้เกิดการตีบแคบเกิดขึ้น เช่น อายุมากขึ้น มีเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่หย่อนยาน มีน้ำหนักตัวหรือไขมันในร่างกายมาก หรือมีคางเล็กคางสั้น ทำให้ลิ้นตกขณะนอนหลับมากขึ้น --> ทำให้ทางเดินหายใจบริเวณคอหอย เกิดการตีบแคบง่ายขึ้นขณะหลับ เกิดการหยุดหายใจ หรือหายใจแผ่วเป็นช่วงๆได้ ซึ่งเป็นผลเสียต่อร่างกายในระยะสั้นและระยะยาว 😱 ผลเสียต่อร่างกายหากไม่รักษา ระยะสั้น : การหยุดหายใจเป็นช่วงๆขณะนอนหลับ ทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวเรื่อยๆขณะนอนหลับ ทำให้การนอนไม่มีคุณภาพ เกิดความง่วง 😴 😫  ถึงแม้นอนในชม.ที่เพียงพอแล้ว ความจำไม่ดี สมองไม่ปลอดโปร่ง หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ปวดหั...